Posted on Leave a comment

มารู้จักยางสน(Resin) เพื่อใช้ในวงการดนตรี

resin

ยางสน (Rosin) คืออะไร

        ยางสน (Rosin) หรือที่ช่างทำยางสนรู้จักกันดีในชื่อ Colophon   หรือ Colophony   คือยางไม้ (Resin) ที่ได้จากต้นสน (Pine) ซึ่งมีอยู่กว่า 110 ชนิดทั่วยุโรป เอเชีย อเมริกาเหนือ และนิวซีแลนด์ คำว่า Colophony   มีประวัติย้อนหลังไปถึงอาณาจักรโบราณ Colophon ใน Lydia ซึ่งมีการผลิตยางสนคุณภาพดีเพื่อทำควันเพื่อใช้ทั้งในการแพทย์และพิธีกรรมเวทมนตร์ต่างๆ
        การเก็บยางสนจะได้จากต้นไม้ที่ยังมีชีวิตอยู่ ด้วยวิธีการที่คล้ายคลึงกับวิธีการเก็บน้ำหวาน (Syrup) จากต้นเมเปิ้ล ซึ่งวิธีการนี้จะไม่เป็นอันตรายต่อต้นไม้ ในขั้นตอนแรกจะบากเปลือกไม้ออกก่อน หลังจากนั้นจะฝังท่อโลหะและภาชนะสำหรับใส่ยางสน ในขั้นตอนสุดท้ายจะบากต้นไม้เป็นรูปตัว V เหนือท่อโลหะ มีความกว้างประมาณ 1 ซ.ม. ร่องบากนี้จะช่วยให้ยางสนไหลลงสู่ภาชนะที่เตรียมไว้ การบากร่องควรซ้ำทุกๆ 5 วันเพื่อให้ยางสนไหลได้สะดวก

       หลังจากที่ได้ยางสนเรียบร้อยแล้ว ในบางครั้งก็จะผสมของเหลวจากต้นไม้บางชนิด โดยปกติจะได้จากต้นสน ต้นสปรู๊ซ ต้นเฟอร์ ช่างทำยางสนแต่ละคนจะมีสูตรลับเฉพาะตัวเช่นเดียวกับที่ช่างทำไวโอลินมีสูตรน้ำมันวานิชของตนเพื่อให้ได้ยางสนสูตรพิเศษ หลังจากนั้นจะนำส่วนผสมที่ได้ไปกรองและเคี่ยวในหม้อขนาดใหญ่จนกระทั่งยางสนเหลวได้ที่ จากนั้นจึงรีบเทส่วนผสมที่ได้ลงแม่พิมพ์ ทิ้งไว้ให้เย็นประมาณ 30 นาที ยางสนจะเริ่มจับตัวเป็นก้อนและมีความมันวาว หลังจากนั้นจึงห่อยางสนลงในผ้าหรือใส่ลงในภาชนะบรรจุที่เตรียมไว้

       สีสันของยางสนขึ้นอยู่กับช่วงระยะเวลาในการเก็บ ถ้าเก็บในช่วงปลายฤดูหนาวหรือในช่วงต้นฤดูใบไม้ผลิ จะได้ยางสนสีทองหรือสีอำพันซึ่งมีความแข็งเมื่อย็นตัวลง แต่ถ้าเก็บในฤดูร้อนหรือฤดูใบไม้ร่วงจะได้ยางสนสีเข้มและมีความอ่อนนุ่มกว่า

ยางสนทำให้เกิดเสียงได้อย่างไร

       หลักการทำงานของยางสนคือ การอาศัยความฝืดระหว่างหางม้าและสายที่เกิดจากความเหนียวของยางสน เมื่อลากคันชักผ่านสายก็จะลากสายไปในทิศทางเดียวกันจนกระทั่งสุดปลายคันชัก เมื่อสายถูกลากไปจนสุดก็จะดีดตัวกลับ ทำให้เกิดการสั่นสะเทือนตามคลื่นความถี่ของสายที่ตั้งไว้

        ทฤษฎีดังกล่าวเป็นหนึ่งใน 2 ทฤษฎีที่ว่าด้วยเรื่องการเกิดเสียงของเครื่องดนตรีที่ใช้คันชัก ส่วนอีกทฤษฎีหนึ่งกล่าวว่ายางสนทำให้เกิดสะเก็ดหรือตะขอเล็กๆ บนหางม้าหรือที่เรียกว่า ‘Barbs’ สะเก็ดเล็กๆ เหล่านี้จะไปเกี่ยวสายทำให้เกิดการสั่นสะเทือนในขณะที่ลากคันชักผ่านสาย

ยางสนผสมทอง (Gold rosin)

        จะให้น้ำเสียงที่อบอุ่นและชัดเจน เหมาะกับเครื่องดนตรีทุกประเภท ยางสนผสมทองจะช่วยทำให้เครื่องดนตรีที่มีเสียงแหลมมีน้ำเสียงที่นุ่มนวลขึ้น นักดนตรีประเภทแสดงเดี่ยวหลายๆ คนกล่าวว่า ยางสนชนิดนี้ช่วยให้เสียงเครื่องดนตรีของพวกเขามีน้ำเสียงนุ่มนวลและชัดเจนยิ่งขึ้น

ยางสน
Liebenzeller Gold Rosin

ยางสนผสมโลหะเงิน (Silver rosin)

ช่วยทำให้เสียงของเครื่องดนตรีมีโทนเสียงที่แน่นและสดใสขึ้น โดยเฉพาะการเล่นในโพสิชั่นสูงๆ เหมาะเป็นอย่างยิ่งกับไวโอลินและวิโอล่า

Liebenzeller Silver Rosin
Liebenzeller Silver Rosin

ยางสนผสมตะกั่ว-เงิน (Lead-Silver rosin)

เหมาะสำหรับไวโอลินและวิโอล่า เป็นยางสนที่มีความนุ่มนวลแต่ไม่เหนียวเหนอะ ให้น้ำเสียงที่นุ่มนวล ชัดเจนและสดใส

Liebenzeller Lead-Silver
Liebenzeller Lead-Silver

ยางสนผสมทองแดง (Copper rosin)

ให้น้ำเสียงที่ชัดเจนที่สุดในบรรดายางสนผสม ยางสนชนิดนี้ช่วยให้การเล่นของนักดนตรีมือใหม่ได้ง่ายขึ้น เหมาะกับเครื่องดนตรีขนาด 1/2 และ 3/4 ยางสนชนิดนี้ให้เสียงที่อบอุ่นนุ่มนวลเหมือนกำมะหยี่ นอกจากนั้นยังเป็นที่นิยมในหมู่นักดนตรีประเภท Gamba อีกด้วย

Liebenzeller Copper Rosin
Liebenzeller Copper Rosin

ยางสนที่มีจำหน่ายในท้องตลาด

มีทั้งแบบกล่องสี่เหลี่ยม (Box) และก้อนกลม (Cake) โดยทั่วไปยางสนชนิดแรกจะมีราคาถูกกว่า มีให้เลือกทั้งแบบสีอ่อนและสีเข้ม จัดเป็นยางสนเอนกประสงค์ที่สามารถใช้กับเครื่องดนตรีได้ทุกประเภทและทุกฤดูกาล รวมถึงเครื่องดนตรีประเภทเบส ข้อดีของยางสนชนิดนี้คือ เหมาะกับนักดนตรีหัดใหม่ที่ใช้คันชักซึ่งเป็นหางม้าเทียม ข้อดีอีกอย่างก็คือสามารถใช้ได้นานกว่า ไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องการร้าวหรือแตกส่วนยางสนประเภทก้อนกลมมักจะมีคุณภาพดีกว่า เนื้อยางสนมีความบริสุทธิ์กว่า มีจำหน่ายทั้งแบบสีเข้มและสีอ่อนเช่นเดียวกัน

ผงยางสนที่เกิดจากการเล่นอาจสร้างปัญหาให้กับนักดนตรีอยู่บ้าง เพื่อแก้ปัญหาเรื่องอาการแพ้ละอองยางสน บริษัทผู้ผลิตบางแห่งจึงได้คิดค้นยางสนปลอดภูมิแพ้ขึ้นมา (Hypoallergenic rosin) มีความใสและปราศจากฝุ่นละออง ผลิตออกจำหน่ายในรูปก้อนกลม ไม่เกิดฝุ่นและละอองเวลาเล่นแต่ไม่ว่าจะเลือกใช้ยางสนประเภทใดก็ตาม ควรใช้แต่พอดี นักดนตรีหลายๆ คนฝนยางสนมากเกินความจำเป็น ไม่จำเป็นต้องฝนยางสนทุกครั้งที่เล่น การฝนยางสนแต่ละครั้งสามารถใช้ได้ 4-5 ครั้งเลยทีเดียว ยิ่งฝนยางสนบ่อยเกินไปก็อาจต้องเปลี่ยนหางม้าบ่อยขึ้นเท่านั้น

เคล็ดลับประการสุดท้ายคือ การป้องกันไม่ให้ยางสนทำลายเครื่องดนตรีตัวเก่งของคุณ วิธีการทำความสะอาดก็คือ ให้พกผ้านุ่มๆ ไว้ในกล่องเครื่องดนตรี หมั่นทำความสะอาดสาย คันชักและเครื่องดนตรีทุกครั้งหลังการเล่น

Clarity Hypoallergenic Violin/Viola Rosin
Clarity Hypoallergenic Violin/Viola Rosin / ยี่ห้อ ยางสนสำหรับนักดนตรีที่เป็นภูมิแพ้