Posted on Leave a comment

10 หัวข้อเรื่องไฟฟ้าในบ้านที่คุณต้องรู้

มิเตอร์ไฟฟ้า

ในสายยังมีไฟ แต่ในใจมีแต่เธอ!!!  ในชีวิตประจำวันของคนเราส่วนใหญ่ต้องใช้ ไฟฟ้า เป็นแหล่งพลังงานสำคัญในการดำเนินชีวิต แต่ก็มีคนจำนวนไม่มากนักที่จะให้ความสนใจเรื่อง ไฟฟ้า ที่ใช้กันอยู่ภายในบ้าน เพราะเมื่อพูดถึงไฟฟ้าแล้ว เรามักรู้สึกว่าเป็นเรื่องลึกลับซับซ้อนและอันตราย ต้องอาศัยผู้มีความรู้ความชำนาญเท่านั้นจึงจะหยิบจับหรือทำได้

แต่หากเรามีความเข้าใจเพียงพอ มีความระมัดระวัง และรู้จักการทำงานที่ปลอดภัยแล้ว เราก็สามารถซ่อมแซมหรือเปลี่ยนสวิตช์ ปลั๊ก หลอดไฟ หรือแก้ไขปัญหาเบื้องต้นได้ด้วยตัวเอง ซึ่งช่วยประหยัดเงินและเวลาในการหาช่างมาซ่อมแซมอีกด้วย

10 หัวข้อเรื่องไฟฟ้าในบ้านที่คุณควรรู้

1. มิเตอร์ไฟบ้านมีขนาด 5 แอมแปร์ เปิดเครื่องปรับอากาศ 2 เครื่อง พร้อมกันได้หรือไม่?

ไม่ได้ เนื่องจากมิเตอร์ไฟมีขนาดเล็กเกินไป (ไฟฟ้าอาจจะดับทั้งบ้านหรือเกิดไฟฟ้าลัดวงจรได้) ปกติมิเตอร์ไฟบ้านทั่วไปที่การไฟฟ้า มาติดตั้งให้นั้นจะกำหนดขนาดการใช้กระแสไฟไว้ประมาณ 5(15) แอมแปร์ (5 A ใช้ไม่เกิน 15 A) และจะเผื่อการใช้งานไว้อีกประมาณ 3 เท่า (คือ 15 A) แต่เครื่องปรับอากาศที่เจ้าของบ้านซื้อหามาเพิ่มเติมภายหลังจะใช้กระแสไฟฟ้ามากกว่ามิเตอร์จะสามารถทนกระแสได้ ซึ่งจากข้อมูลเครื่องปรับอากาศ กินไฟ ดังนี้

12,000 BTU – 4.0-5.0 A 
18,000 BTU – 7.0-7.5 A 
24,000 BTU – 9.5-10.5 A 
เป็นค่าโดยประมาณครับ ถ้าแอร์เก่า บางที 12,000 BTU กินไฟไปถึง 6-7A ก็มี ( ควรตรวจสอบให้แน่ชัด ที่เนมเพรตที่ติดมากับตัวเครื่องปรับอากาศแต่ล่ะยี่ห้อ)

ดังนั้นถ้าจำเป็นต้องใช้เครื่องปรับอากาศ 2 เครื่องพร้อมๆกัน ให้ติดต่อกับการไฟฟ้าในเขตพื้นที่ของท่าน เพื่อแจ้งความประสงค์ขอเปลี่ยนมิเตอร์ไฟเป็นขนาด 15 (45) แอมแปร์ 1 เฟส 2 สาย จะปลอดภัยกว่า แต่เจ้าของบ้านต้องเสียค่าใช้จ่ายในส่วนนี้เอง

2. สายไฟมีวันหมดอายุไหม


ฉนวนหรือเปลือกชั้นนอกที่ใช้หุ้มสายไฟส่วนใหญ่ทำจากพีวีซี (PVC) ซึ่งมีความแข็งแรงและมีอายุการใช้งานยาวนาน ปกติถ้าเราไม่ใช้กระแสไฟมากเกินกว่าขนาดของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ หรือถูกหนูกัดแทะสายไฟ สายไฟที่ได้มาตรฐานจะมีอายุการใช้งานไม่น้อยกว่า15-20 ปี แต่ถ้าปล่อยให้ถูกกระแทก ตากแดดตากฝนและถูกรังสียูวีเล่นงานเป็นประจำ สายไฟจะมีอายุการใช้งานไม่เกินน้อยกว่าที่กำหนด(5-10ปี) ดังนั้นการเดินสายไฟแบบร้อยท่อ (โลหะและอโลหะ) ก็พอช่วยยืดอายุการใช้งานของสายไฟได้ในระดับหนึ่ง 

3. เมื่อเลิกใช้งานเครื่องทำน้ำอุ่นแล้ว ต้องปิดตรงไหนบ้างถึงปลอดภัย

ถ้าจะปิดให้กดปุ่ม OFF ที่ตัวเครื่องก็พอ แต่ถ้าจะให้ประหยัดและปลอดภัยจริงๆ ให้ปิดวาล์วน้ำ และตามด้วยสวิตช์เปิด-ปิดที่ตัวเครื่อง ซึ่งสวิตช์ตัวนี้ทำหน้าที่ควบคุมแรงดันน้ำให้คงที่และจะตัดไฟเมื่ออุณหภูมิน้ำร้อนถึงจุดที่เราตั้งค่าไว้ แต่เพื่อความสบายใจของผู้ใช้ก็ควรปลดวงจรไฟฟ้าด้วยการสับเบรกเกอร์มาไว้ที่ตำแหน่ง OFF ทุกครั้ง เมื่อเลิกใช้งานแล้ว รวมถึงหมั่นตรวจเช็คสวิตช์ป้องกันไฟรั่วไฟดูด (ELCB) อย่างน้อยเดือนละครั้ง

4. มีสายดินแล้วต้องติดตั้งเครื่องตัดไฟรั่วอีกหรือไม่


สายดินถือเป็นสิ่งจำเป็นที่ผู้ใช้ไฟฟ้าจะต้องมีไว้ป้องกันไฟดูด เพื่อให้กระแสไฟที่รั่วไหลลงดินได้สะดวก โดยไม่ผ่านร่างกายเรา (ไฟไม่ดูด) ส่วนเครื่องตัดไฟรั่วมีหน้าที่ตัดกระแสไฟรั่วก่อนที่จะเป็นอันตรายกับมนุษย์ (ไฟดูด) และช่วยป้องกันการเกิดไฟฟ้าลัดวงจร ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดเพลิงไหม้ได้ ดังนั้นระบบไฟฟ้าที่ดี จึงควรมีทั้งระบบสายดินและเครื่องตัดไฟรั่ว ที่ตู้เมน(MDB,DB) เพื่อเสริมการทำงานซึ่งกันและกันให้เกิดความปลอดภัยมากยิ่งขึ้น

5. เมื่อเกิดเพลิงไหม้จากไฟฟ้า…ต้องทำอย่างไรและใช้อะไรดับ


หากพบประกายไฟที่จะก่อให้เกิดอัคคีภัย ให้เตรียมอุปกรณ์ดับเพลิงให้พร้อม การดับเพลิงที่เกิดจากไฟฟ้า ต้องใช้ถังดับเพลิงที่ใช้ดับไฟที่เกิดจากไฟฟ้าโดยเฉพาะเท่านั้น อย่าใช้น้ำดับไฟเป็นอันขาด เพราะน้ำเป็นสื่อไฟฟ้า (ยกเว้นในกรณีที่ปลดวงจรไฟฟ้าแล้วสามารถใช้น้ำดับได้)

ถังดับเพลิงที่ใช้ดับเพลิงไหม้จากไฟฟ้าจะมีเครื่องหมายระบุว่าใช้ดับไฟได้ สังเกตที่ข้างถังจะระบุเป็นตัวอักษร C (ชนิด Aใช้ดับเพลิงพวกไม้และกระดาษ ชนิด B ใช้กับไฟที่เกิดจากน้ำมันเชื้อเพลิงต่างๆ)

 

6. เต้ารับไม่มีไฟ ทำอย่างไรดี

เบื้องต้น ใช้  ไขควงวัดไฟ  เช็กดูว่าเต้ารับมีไฟหรือไม่ หรือใช้หลอดทดสอบเพื่อวัดวงจรไฟฟ้าว่า สายทั้งสองเส้นมีเส้นใดเส้นหนึ่งขาดหรือไม่ (ถ้าหลอดไฟในไขขวงติดก็แสดงว่าใช้ได้) หรือถอดเต้ารับออกมาเพื่อตรวจสอบดูอย่างละเอียดแล้วต่อสายไฟกลับเข้าที่ให้เรียบร้อย ที่สำคัญอย่าลืมกฎสำคัญในการทำงานไฟฟ้าคือ ต้องถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าหรือปลดเมนสวิตช์ทุกครั้ง ในบริเวณที่เราจะทำงานด้วยนะครับ

7. เราสามารถเสียบต่อปลั๊กพ่วง ได้มากน้อยเพียงใด

ปลั๊กพ่วงแต่ละรุ่น มีขีดความสามารถในการทนต่อกระแสไฟฟ้าไม่เท่ากัน โดยจะเขียนกำกับไว้ที่ตัวปลั๊กพ่วงเลย เช่น ปลั๊กพ่วงขนาด 3 ช่อง ทนกระแสไฟได้ 10 แอมแปร์ อุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่นำมาต่อพ่วงต้องไม่มากกว่านี้ (ฟิวส์จะขาด) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความร้อนสูงจนเกิดไฟไหม้ ที่สำคัญปลั๊กตัวผู้ที่เสียบกับเต้ารับต้องแน่นและกระชับ(ไม่หลวม) และอีกอย่างที่ไม่ควรทำคือ นำปลั๊กตัวอื่นมาพ่วงต่อจากปลั๊กพ่วงอีกที…อย่าทำนะครับ

8. ล้างเครื่องปรับอากาศอย่างไรให้ประหยัดไฟ

การดูแลเครื่องปรับอากาศอย่างสม่ำเสมอ นอกจากจะช่วยให้เครื่องทำงานได้เต็มประสิทธิภาพแล้ว ยังช่วยประหยัดค่าไฟและส่งผลดีต่อสุขภาพของเราอีกด้วย การทำความสะอาดแอร์ครั้งใหญ่ควรทำอย่างน้อยปีละ 1-2 ครั้ง ทั้งคอยล์เย็นและคอยล์ร้อนที่ตั้งอยู่ภายนอกห้อง โดยช่างผู้ชำนาญเพื่อยืดอายุการใช้งานให้ยาวนานยิ่งขึ้นแต่ภายหลังการล้างเครื่อง บ่อยครั้งมักเกิดน้ำหยดหรือรั่วออกมาจากแผงคอยล์เย็น เพราะช่างอาจหลงลืมการทำความสะอาดท่อน้ำทิ้ง ทำให้เกิดน้ำรั่วหรือเกิดเสียงจากการสั่นของเครื่องได้ เนื่องมาจากการประกอบชิ้นส่วนไม่ดี ดังนั้นจึงควรตรวจเช็กในจุดต่างๆให้แน่ใจก่อนช่างจะจากไปนะครับ

9. Daylight, Warm white และCool white เลือกให้ถูก ใช้ให้เป็น


การเลือกซื้อหลอดไฟ นอกจากต้องดูที่ขั้วหลอดให้ชัวร์แล้ว อีกสิ่งหนึ่งที่ต้องเช็คให้แน่ใจก่อนซื้อก็คือ เรื่อง โทนสีของแสงจากหลอดไฟนั่นเอง  เพราะแสงนั้นมีผลกับอารมณ์และประสิทธิภาพในการมองเห็น ปัจจุบันหลอดไฟแสงสว่างส่วนใหญ่ที่ผลิตออกมาจำหน่ายมีหลายโทนสีด้วยกัน ได้แก่ Day Light, Warm White และ Cool White ซึ่งหลอดไฟแต่ละสีก็จะให้ความรู้สึกที่แตกต่างกันไปดังนี้ Daylight ให้แสงสีขาวอมฟ้านิดๆ คล้ายแสงธรรมชาติในช่วงกลางวัน
Warm White จะให้แสงสีแดงอมส้ม หรือขาวอมเหลือง เป็นสีโทนร้อน เหมาะสำหรับการสร้างบรรยากาศให้ดูอบอุ่นและเป็นกันเองCool White แสงจะเริ่มออกมาทางสีขาว เป็นสีโทนเย็น ดูเย็นตา แต่จะทำให้สีจริงของวัตถุผิดเพี้ยนไป จึงนิยมใช้กันในร้านค้าต่างๆ อาทิ ร้านขายผักหรือผลไม้ เพื่อช่วยให้สีสันของสินค้าดูสดใสกว่าความเป็นจริง

ดังนั้นก่อนเลือกซื้อหลอดไฟมาใช้ จึงควรอ่านฉลากที่ข้างกล่องเพื่อให้ได้แสงไฟที่ตรงกับลักษณะการใช้งาน และช่วยสร้างบรรยากาศที่ดีให้ห้องต่างๆภายในบ้าน

10. ขั้นตอนตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆภายในบ้านด้วยตนเอง ว่าไฟรั่วหรือไม่

เริ่มด้วยการทดสอบมิเตอร์ไฟก่อน โดยปิดสวิตช์ไฟฟ้าทุกจุด รวมทั้งถอดปลั๊กเครื่องใช้ไฟฟ้าต่างๆออกให้หมด พร้อมทั้งโยกเบรคเกอร์ในตำแหน่ง OFF แล้วไปดูมิเตอร์ไฟที่หน้าบ้านว่าเฟืองเหล็กยังหมุนอยู่หรือไม่ หากยังหมุนอยู่แสดงว่ามีกระแสไฟรั่ว ระหว่างมิเตอร์ถึงสายเมนเข้าบ้าน
หากตรวจสอบแล้วพบว่ามิเตอร์สายเมนถึงเบรคเกอร์ ปกติ (มิเตอร์ไม่หมุน) ให้ลองนำเบรคเกอร์ของสายแยกย่อยโยกในตำแหน่ง OFF ทั้งหมด แล้วค่อยๆ ขึ้นเบรคเกอร์ที่ละวงจร ดูเมนสวิตช์ ว่ามีมดหรือแมลงเข้าไปทำรังในตู้หรือเปล่า คัตเอ๊าต์หรือเบรกเกอร์ยังสามารถใช้ปลดวงจรไฟฟ้าได้หรือไม่

ส่วนสายไฟและเต้ารับ ให้ดูว่ามีส่วนใดชำรุดเสียหายบ้าง โดยเฉพาะสายไฟที่ซ่อนอยู่บนฝ้าเพดาน อาจเปื่อยกรอบเนื่องจากผ่านการใช้งานมานาน หรือถูกพวกหนูกัดแทะจนสายขาดได้ ถ้าพบความเสียหายก็ต้องเปลี่ยนใหม่เพื่อป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร

ขอขอบคุณข้อมูล :

https://www.wearecp.com/focus20220318/
https://www.baanlaesuan.com/74536/maintenance/10-qa-electricity

Posted on Leave a comment

การตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในสถานประกอบกิจการสำคัญอย่างไร?

กำลังไฟฟ้า

การตรวจสอบระบบไฟฟ้าภายในสถานประกอบกิจการ คือ การตรวจสอบและรับรองโดยวิศวกรตามที่กฎหมายกำหนดทั้งนี้ ได้มีการระบุให้โรงงานและสถานประกอบกิจการต่างๆต้องมีการตรวจระบบไฟฟ้าประจำปีตามแบบรายงานส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ซึ่งการตรวจสอบระบบไฟฟ้ามีข้อดีหลายอย่าง เช่น ทำให้เราได้รู้ว่าอุปกรณ์ต่างๆภายในระบบไฟฟ้านั้นยังสามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหรือไม่ที่สำคัญช่วยลดการเกิดเบรคดาวน์หรือไฟดับกระทันหันระหว่างที่เราเดินไลน์ผลิตได้อีกด้วย

ตรวจสอบระบบไฟฟ้ามีรายการที่สำคัญมีอะไรบ้าง

1. Single Line Diagram

  • มี Single Line Diagram

2. ตู้เมน สวิตช์

  • จุดต่อสายและจุดต่อบัสบาร์
  • (Single Line Diagram) ของเมนสวิตช์
  • เครื่องป้องกันกระแสเกิน
  • สายดินของแผงสวิตช์
  • อุณหภูมิของอุปกรณ์
  • สภาพของจุดสายต่อ
  • การต่อลงดิน

3. ระบบแรงสูง

  • การพาดสายเหนือศีรษะ
  • สภาพเสา
  • การประกอบอุปกรณ์หัวเสา
  • สายยึดโยง
  • การติดตั้งล่อฟ้า
  • สภาพของจุดสายต่อ
  • การต่อลงดิน

4.แรงต่ำภายในอาคาร

  • วงจรเมน (Main Circuit)
  • สายเข้าเมนสวิตช์
  • รางเดินสายและรางเคเบิล
  • สภาพฉนวนสายไฟ
  • สภาพจุดต่อของสายไฟ
  • การป้องกันความร้อนเหนี่ยวนำ
  • อุณหภูมิของอุปกรณ์

5. หม้อแปลง

  • การติดตั้งหม้อแปลง
  • คาปาซิเตอร์ Capacitor Bank
  • ตัวประกอบกำลังไฟฟ้า ( Power Factor)
  • ปริมาณกระแส
  • การจัดโหลดเพื่อให้เฟสสมดุล (Balanceload)
  • ขนาดสายเมน
  • ระบบเมนสวิตช์
  • สภาพหม้อแปลงภายนอก

6. ระบบสายดิน

  • ตรวจสอบตู้เมน
  • อุปกรณ์และเครื่องจักรต่างๆ
  • สายไฟและสภาพทางเดินสายไฟฟ้า

7. พื้นที่จัดเก็บวัตถุไวไฟ

  • การติดตั้งและใช้อุปกรณ์ไฟฟ้า
  • การจัดเก็บวัตถุไวไฟที่ต้องมีระบบความปลอดภัยพิเศษ
  • ระบบป้องกันฟ้าผ่า

 

การตรวจสอบแบ่งเป็น 2 รายงาน ดังนี้

  1. แบบรายงานของ กรมสวัสดิการคุ้มครองแรงงาน
  2. แบบรายงานของ กรมโรงงานอุตสาหกรรม
กรมโรงงานอุตสาหกรรม
กรมโรงงานอุตสาหกรรม

ดาวน์โหลดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ของ กรมโรงงานอุตสาหกรรม

กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ดาวน์โหลดกฎหมายที่เกี่ยวข้อง ของ กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน

ประโยชน์จากการตรวจสอบระบบไฟฟ้า

การตรวจสอบระบบไฟฟ้า มีประโยชน์มากมายหลายด้าน ซึ่งนอกจากจะได้ปฏิบัติตามที่กฎหมายกำหนดแล้ว ยังมั่นใจได้อีกว่าระบบไฟฟ้าภายในกระบวนการผลิตของเราจะสามารถทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ควรทำการตรวจสอบอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง โดยจะต้องจัดทำรายงานผลการตรวจสอบระบบไฟฟ้าประจำปีให้ วิศวกรไฟฟ้า ออกรายงานรับรองตามแบบที่กฎหมายกำหนด การตรวจสอบระบบไฟฟ้าวิศวกรจะทำการตรวจสอบอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ตรวจสอบหม้อแปลงไฟฟ้า ตู้ควบคุมไฟฟ้า ตู้เมนสวิตช์ (MDB) ตู้ควบคุมไฟฟ้าย่อย (DB) และอุปกรณ์ต่อพวกระบบไฟฟ้าอื่นๆทั้งระบบ ซึ่งปัจจุบันได้มีเทคโนโลยีที่ถูกนำเข้ามาช่วยตรวจสอบระบบไฟฟ้าให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น การตรวจสอบระบบไฟฟ้าด้วยการถ่ายภาพความร้อน (Thermo scan) ทำให้เราได้รู้ถึงประสิทธิภาพของอุปกรณ์ไฟฟ้า ได้อย่างดีขึ้นอีกด้วย รวมไปถึงสามารถวางแผนเพื่อซ่อมบำรุงรักษา (PM) ก่อนเกิดการเบรคดาวน์ในระบบไฟฟ้าได้อีกด้วย

Posted on Leave a comment

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator) คืออะไร? มีประโยชน์อย่างไร

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า (Generator)  เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เปลี่ยนแปลงพลังงานกลมาเป็นพลังงานไฟฟ้า โดยอาศัยการเหนี่ยวนำของแม่เหล็กตามหลักการของ ไมเคิล ฟาราเดย์ คือ การเคลื่อนที่ของขดลวดตัวนำผ่านสนามแม่เหล็ก หรือการเคลื่อนที่แม่เหล็กผ่านขดลวดตัวนำ จะทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าเหนี่ยวนำขึ้นในขดลวดตัวนำนั้น ซึ่ง เครื่องกำเนิดไฟฟ้ามี 2 ชนิด คือชนิดกระแสตรงเรียกว่า ไดนาโม (Dynamo) และชนิดกระแสสลับเรียกว่า อัลเทอร์เนเตอร์ (Alternator) สำหรับเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ใช้งานในเชิงอุตสาหกรรมนั้น โดยมากจะเป็นเครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดกระแสสลับระบบสายส่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

  • ระบบ 1 เฟส (Single Phase)
  • ระบบ 3 เฟส (Three Phase) หรือ 3 เฟส 4 สาย

เครื่องกำเนิดไฟฟ้า มีประโยชน์อย่างไร

เป็นอุปกรณ์ด้านสำรองพลังงานไฟฟ้าหากเกิดภาวะกระแสไฟฟ้าดับ ซึ่งเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้เลยสำหรับหลาย ๆ ธุรกิจ เช่น โรงพยาบาล ห้างสรรพสินค้า โรงแรม โรงงาน ฟาร์มเลี้ยงสัตว์  รีสอร์ท อาคารสูง เป็นต้น เนื่องจากธุรกิจเหล่านี้หากไฟดับเป็นเวลานานจะก่อให้เกิดความเสียหายมาก ดังนั้น การมีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าเพื่อใช้สำหรับสำรองในขณะที่ไฟดับ จะช่วยให้ธุรกิจเหล่านี้ลดความเสี่ยงจากความเสียหายอันเนื่องมาจากไฟฟ้าดับในสถานประกอบกิจการ

จุดประสงค์การใช้งาน เป็นเครื่องผลิตกระแสไฟฟ้าสำรองในกรณีที่กระแสไฟฟ้าของการไฟฟ้าดับ เพื่อให้หน่วยงานมีกระแสไฟฟ้าใช้อย่างต่อเนื่อง

ส่วนประกอบสำคัญของเครื่องกำเนิดไฟฟ้า

เครื่องกำเนิดไฟฟ้ามีส่วนประกอบ 2 ส่วน คือ
1.ส่วนที่อยู่กับที่ (Stator)

2.ส่วนที่เคลื่อนที่ (Rotor)

ส่วนที่เคลื่อนที่ (Rotor)

Rotor มีหน้าที่เป็นตัวสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าเพื่อไปตัดผ่านตัวนำ(stator) ซึ่งการที่จะทำให้ Rotor เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นได้นั้นจะ ต้องอาศัยระบบ Excitation เป็นตัวกระตุ้นให้เกิดสนามแม่เหล็กโดยระบบ Excitation จะจ่ายไฟ DC เข้ามายัง Rotor โดยผ่านมาทาง Slip ring และแปรงถ่านและจะมี Rotor lead ต่อจาก Slip ring เข้าไปหาขั้วของ Rotor แต่ละขั้วเมื่อระบบ Excitation ทำงานก็จะทำให้ ที่ขั้วแต่ละขั้วของ Rotor เกิดสนามแม่เหล็กขึ้น

ส่วนที่อยู่กับที่ ( Stator)

เมื่อ Rotor สร้างสนามแม่เหล็กขึ้นมาแล้วหมุนตัดผ่านตัวนำบน Stator จะทำให้เกิดการเหนี่ยวนำของสนามแม่เหล็กเกิดขึ้นระหว่าง สนามแม่เหล็กกับตัวนำเมื่อเกิดการเหนี่ยวนำเกิดขึ้นจะทำให้เกิดแรงดันไฟฟ้าขึ้นที่ตัวนำบน Stator ซึ่งแต่ละ Coils จะต่อรวมกันเป็น เรียกว่า เฟส (Phase) และเครื่องกำเนิดไฟฟ้าที่ เราใช้กันอยู่เป็นแบบ 3 เฟส ดังนั้น Coil ที่ต่อรวมกันบน Stator จะแยกเป็น 3 เฟส ด้วยเหมือนกัน แต่ละเฟสจะต่อแรงดันที่ได้มายัง Terminals ของเครื่องกำเนิดไฟฟ้าทั้ง 3 เฟสคือ เฟส A,B และ C ตามลำดับ

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ ระบบ 1 เฟส (Single Phase)

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็ก ส่วนมากจะเป็นเครื่องกำเนิดชนิด 1 เฟส ให้แรงดันไฟฟ้า 220 โวลต์ มีขนาดไม่เกิน 5 KVA มีจำหน่ายตามท้องตลาดทั่วไป ใช้ผลิตไฟฟ้าชั่วคราว ใช้เป็นไฟฉุกเฉิน และใช้กับงานเฉพาะกิจ

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดกระแสสลับ ระบบ 3 เฟส (Three Phase)

เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดกลาง เป็นเครื่องกำเนิดที่จ่ายระบบไฟ 3 เฟส ให้แรงดันไฟฟ้า 220 /380โวลต์ มีขนาดตั้งแต่ 5 KVA ถึง 500 KVA ใช้เป็นเครื่องสำรองไฟให้กับโรงพยาบาล โรงแรม ศูนย์การค้า ธนาคาร และโรงงานอุตสาหกรรม ในกรณีที่ระบบไฟฟ้าของการไฟฟ้าไม่สามารถจ่ายไฟได้ อาจจะให้เครื่องกำเนิดเริ่มเดินด้วยมือ(Manual) หรือให้เริ่มเดินแบบอัตโนมัติ แบบใช้ทรานส์เฟอร์สวิตช์ (Transfer switch) ทำหน้าที่ถ่ายโอนระบบไฟฟ้าของเครื่องสำรองไฟและระบบจำหน่ายของการไฟฟ้าเข้ากับโหลด  เครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดใหญ่ มีขนาดตั้งแต่ 500 KVA เป็นต้นไป ส่วนมากจะใช้เป็นกำลังหลักในการผลิตไฟฟ้าของโรงต้นกำลัง เช่น โรงงานไฟฟ้าพลังงานความร้อน พลังน้ำ กังหันแก๊ส และโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม โดยจ่ายแรงดันไฟฟ้าได้ประมาณ 20 KV เข้าสู่ระบบสายส่งแรงสูงของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย หรือใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อเชื่อมต่อให้กับระบบจำหน่าย 22 KV ของการไฟฟ้าภูมิภาคโดยตรง

ลักษณะการออกแบบ

  1. เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดเปลือยติดตั้งอยู่กับที่ (Bare Generator)เป็นชนิดที่นิยมใช้งานกันโดยทั่วไป เครื่องยนต์ที่เป็นต้นกำลังและเครื่องกำเนิดจะเป็นชนิดเปลือย มีชุดควบคุมติดตั้งอยู่ด้านท้ายของเครื่องกำเนิด มีขนาดใหญ่และน้ำหนักมากจึงไม่นิยมเคลื่อนย้าย
  2. เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดตู้ครอบเก็บเสียง (Canopied and Sound Proof) เป็นชนิดที่ต้องการย้ายพื้นที่การใช้งานบ่อยๆ หรือต้องการเก็บเสียงหรือพื้นที่ที่ไม่มีห้องสำหรับติดตั้งเครื่องกำเนิด ส่วนประกอบที่สำคัญทั้งหมดจะถูกออกแบบให้อยู่ในตู้ครอบ เช่น ถังน้ำมันเชื้อเพลิง ชุดควบคุมสตาร์ตอัตโนมัติ และสวิตช์ถ่ายโอนกระแสไฟฟ้า
  3. เครื่องกำเนิดไฟฟ้าชนิดเคลื่อนย้าย (Mobile Generator Trailer) เครื่องกำเนิดชนิดนี้ใช้ในสถานที่ชั่วคราว เช่น งานพิธีการต่างๆ งานกู้ภัย งานเฉพาะกิจภาคสนาม สามารถเคลื่อนย้ายนำไปใช้งานในสถานที่ต่างๆ ได้ มีทั้งชนิดลากจูง (Trailer) และแบบบรรทุกบนรถยนต์ (Mobile Generator)

 

Posted on Leave a comment

เซลล์แสงอาทิตย์ คือ อะไร???

โซล่าเซลล์

คำว่า เซลล์แสงอาทิตย์ หรือภาษาวิชาการ เรียกว่า เซลล์โฟโตวอลเทอิก (Photovoltaic cell) เป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าซึ่งทำหน้าที่แปลงพลังงานเป็นพลังงานโดยตรง โดยปรากฏการณ์โฟโตโวลตาอิก นั่นก็คือ คุณสมบัติของสารจะเปลี่ยนไปเมื่อมีแสงตกกระทบโดยไม่ต้องอาศัยภายนอก  ออกมาในรูปของค่าพารามิเตอร์ไฟฟ้า เช่น ค่าความต้านทาน แรงดัน และกระแส

คำนิยามและความหมาย

คำว่า “Photovoltaic” มาจากภาษากรีก φῶς ( Photo ) หมายถึง “แสง” และคำว่า “โวลต์” ซึ่งเป็นหน่วยของแรงเหนี่ยวนำ, คำว่าโวลต์มาจากนามสกุลของนักฟิสิกส์ชาวอิตาเลียนชื่อ อเลสซานโดร Volta ซึ่งเป็นนักประดิษฐ์แบตเตอรี่ (เซลล์ไฟฟ้าเคมี ) คำว่า “Photovoltaic” ถูกใช้ใน ภาษาอังกฤษตั้งแต่ปี 1849

หลักการทำงาน

โฟโตโวลตาอิก เป็นสาขาของเทคโนโลยีและการวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการประยุกต์ใช้เซลล์แสงอาทิตย์ในการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงสว่าง แม้ว่ามันมักจะถูกนำมาใช้เฉพาะเพื่ออ้างถึงการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแสงแดดก็ตาม เซลล์นั้นๆสามารถถูกอธิบายว่าเป็นเซลล์แสงอาทิตย์ได้ แม้ว่าแหล่งกำเนิดแสงไม่จำเป็นต้องเป็นดวงอาทิตย์ (เช่นแสงตะเกียงหรือไฟเทียม ฯลฯ) ในกรณีดังกล่าว เซลล์นั้นบางครั้งจะถูกใช้เป็นตัวตรวจจับแสง  (เช่น ตัวตรวจจับแสงอินฟราเรด) เพื่อตรวจจับแสงหรือรังสีแม่เหล็กไฟฟ้าอื่นๆที่อยู่ในทัศนวิสัย หรือใช้วัดความเข้มของแสง

 

การทำงานของเซลล์แสงอาทิตย์หรือ photovoltaic (PV) cell ต้องมีคุณสมบัติพื้นฐาน 3 อย่างดังนี้

  • การดูดซึมของแสงเพื่อสร้างคู่อิเล็กตรอน-โฮล หรือ เอ็กซิตอน อย่างใดอย่างหนึ่ง
  • การแยกต่างหากของตัวขนส่งประจุที่ต่างชนิดกัน
  • การสกัดการแยกออกจากกันของตัวขนส่งเหล่านั้นออกไปยังวงจรภายนอก

ในทางตรงกันข้าม ตัวสะสมความร้อนจากแสงอาทิตย์จะจ่ายความร้อน โดยการดูดซับแสงแดด เพื่อวัตถุประสงค์ในการให้ความร้อนโดยตรงหรือใช้ในการผลิตไฟฟ้าโดยอ้อมอย่างใดอย่างหนึ่ง

เซลล์แสงอาทิตย์หลายๆ ชุดถูกประกอบเข้าด้วยกันเพื่อทำเป็นแผงเซลล์แสงอาทิตย์ในการผลิตพลังงานไฟฟ้าจากแสงแดด หลายๆเซลล์รวมเข้ามาเป็นกลุ่มๆ ทุกกลุ่มวางตัวเป็นหนึ่งแผง เรียกว่าแผงโซลาร์เซลล์หนึ่งแผงหรือหนึ่ง “โมดูลของเซลล์แสงอาทิตย์” ซึ่งจะแตกต่างจาก “โมดูลความร้อนแสงอาทิตย์” หรือ “แผงน้ำร้อนแสงอาทิตย์ . ” พลังงานไฟฟ้าที่ถูกสร้างขึ้นจากโมดูลเซลล์แสงอาทิตย์ซึ่งถูกเรียกว่าพลังงานแสงอาทิตย์เป็นตัวอย่างของการนำพลังงานจากดวงอาทิตย์มาใช้ กลุ่มของแผงเซลล์แสงอาทิตย์หลายๆแผงที่เชื่อมต่อกันเรียกว่า “อาเรย์”

วัสดุในการประกอบเซลล์โฟโตวอลเทอิก 

วัสดุที่ต่างกันแสดงประสิทธิภาพที่ต่างกัน วัสดุสำหรับเซลล์แสงอาทิตย์ ที่มีประสิทธิภาพจะต้องมีลักษณะที่ตรงกับสเปกตรัมของแสงที่มีอยู่ เซลล์บางตัวถูกออกแบบมาเพื่อแปลงความยาวคลื่นของแสงอาทิตย์ที่มาถึงพื้นผิวโลกได้อย่างมีประสิทธิภาพ อย่างไรก็ตาม เซลล์แสงอาทิตย์บางตัวจะเหมาะสำหรับการดูดซึมแสงนอกชั้นบรรยากาศของโลกได้เป็นอย่างดี วัสดุที่ดูดซับแสงมักจะสามารถใช้ในการกำหนดค่าทางกายภาพหลายอย่างเพื่อใช้ประโยชน์จากการดูดกลืนแสงที่แตกต่างกันและกลไกการแยกประจุ

เซลล์แสงอาทิตย์อุตสาหกรรม ถูกทำจากซิลิกอน monocrystalline , polycrystalline ซิลิคอน, ซิลิคอนอสัณฐาน, แคดเมียมเทลลูไรด์ หรือทองแดง อินเดียม selenide/ซัลไฟด์ หรือ ระบบที่ใช้วัสดุ multijunction ที่มีพื้นฐานจาก GaAs

เซลล์แสงอาทิตย์ที่มีอยู่ในปัจจุบันจำนวนมากจะทำจากวัสดุที่เป็นกลุ่มที่ถูกตัดให้เป็นเวเฟอร์หนา ระหว่าง 180 ถึง 240 ไมโครเมตร แล้วนำไปผ่านขบวนการผลิตเหมือนเซมิคอดักเตอร์ อื่น ๆ

การผลิตและใช้งาน

ในประเทศไทย เริ่มมีการติดตั้งเซลล์แสงอาทิตย์เพื่อผลิตไฟฟ้ามาตั้งแต่ปี 2526 จนถึงปี 2553 มียอดติดตั้งรวม 100.39 MW แจกจ่ายไฟฟ้า(เฉพาะเชื่อมกับสายส่งของ กฟผ แล้ว) ทั้งปี 2553 รวม 21.6 GWh หรือ 0.0134% ของปริมาณความต้องการใช้ไฟฟ้าทั้งหมด 161,350 GWh โดยการไฟฟ้าฝ่ายผลิต ผลิตไฟฟ้าได้ 2.2 GWh ผู้ผลิตรายย่อย 19.4 GWh

ตามพระราชบัญญัติการพัฒนาพลังงานหมุนเวียน 15 ปีนับจากปี 2552 กำหนดเป้าหมายการใช้พลังงานหมุนเวียนไว้ที่ 20.3% ของพลังงานทั้งหมด โดยมีสัดส่วนของพลังงานจากเซลล์แสงอาทิตย์อยู่ที่ 6% ดังนั้น ตามแผนงาน ในปี 2565 ประเทศไทยต้องมีโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์มีกำลังการผลิตรวม 500 MW ตัวเลขในปี 2554 อยู่ระหว่างดำเนินการติดตั้ง 265 MW และอยู่ระหว่างการพิจารณาจาก กฟผ อีก 336 MW

โรงไฟฟ้าที่สร้างที่จังหวัดลพบุรีด้วยเทคโนโลยี amorphous thin film ต้องใช้แผงเซลล์แสงอาทิตย์ถึง 540,000 ชุด มีกำลังการผลิต 73 MW จะเป็นโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ระบบโฟโตโวลตาอิคส์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก

Posted on Leave a comment

มารู้จัก “สายไฟ” แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร

สายไฟฟ้า

มารู้จัก "สายไฟ" แต่ละชนิดแตกต่างกันอย่างไร

สายไฟ
รูปแสดงจาก https://www.chopanich.com/

สายไฟฟ้า เป็นอุปกรณ์ที่ใช้ส่งพลังงานไฟฟ้าจากที่หนึ่งไปยังอีกที่หนึ่งโดยกระแสไฟฟ้าจะ เป็นตัวนำพลังงานไฟฟ้าผ่านไปตามสายไฟจนถึงเครื่องใช้ไฟฟ้า สายไฟทำด้วยสารที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ เรียกว่าตัวนำไฟฟ้า และตัวนำไฟฟ้าที่ใช้ทำสายไฟเป็นโลหะที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ดี ลวดตัวนำแต่ละชนิดยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้ต่างกัน ตัวนำไฟฟ้าที่ยอมให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้มากเรียกว่ามีความนำไฟฟ้ามากหรือมีความต้านทานไฟฟ้าน้อย ลวดตัวนำจะมีความต้านทานไฟฟ้าอยู่ด้วย โดยลวดตัวนำที่มีความต้านทานไฟฟ้ามากจะยอม ให้กระแสไฟฟ้าผ่านได้น้อย

ชื่อเรียกสายไฟที่ช่างนิยมเรียก

  • สายเดี่ยว หรือ สายกลม หมายถึง สายไฟ THW
  • สายตีกิ๊ฟ หรือ สายแบน หมายถึง สายไฟ VAF
  • สายฝังดิน หมายถึง สายไฟ NYY
  • สายอ่อน สายฝอย หมายถึง สายไฟ VCT
  • สายคอนโทรล หมายถึง สายไฟ VSF และ CVV

ประเภทของสายไฟฟ้า

สายไฟฟ้าแบ่งออกเป็น 2 จำพวกคือสายไฟแรงดันต่ำ และ สายไฟแรงดันสูง

สายไฟฟ้าแรงดันต่ำ (Low Voltage Power cable)

เป็นสายไฟที่ใช้กับแรงดันไม่เกิน 750 V. เป็นสายหุ้มฉนวน ทำด้วยทองแดงหรืออะลูมิเนียม โดยทั่วไปเป็นสายทองแดงสายขนาดเล็กจะเป็นตัวนำเดี่ยว แต่สายขนาดใหญ่เป็นตัวนำตีเกลียว วัสดุฉนวนที่ใช้กับสายแรงดันต่ำคือ Polyvinyl Chloride (PVC) และ Cross-Linked Polyethylene (XLPE)

สายไฟที่นิยมใช้กันในบ้าน-อาคารได้แก่ THW, VAF, VCT

  • THW เส้นเมนเดินร้อยท่อ
  • VAF เกาะลอยตามผนังประหยัดท่อ
  • VCT บนรางจัดสายง่าย
  • NYY ฝังดินภายนอก

สาย THW

สายไฟฟ้าตาม มอก.11-2531 ที่ในท้องตลาดนิยมเรียกว่า ทีเอชดับเบิลยู (THW) เป็นสาย ไฟฟ้าชนิดทนแรงดัน 750 V เป็นสายเดี่ยว นิยมใช้กันอย่างกว้างขวาง โดยเฉพาะใน โรงงานอุตสาหกรรม เนื่องจากใช้ในวงจรไฟฟ้า 3 phase ได้ ปกติจะเดินร้อยในท่อร้อยสาย ชื่อ THW เป็นชื่อตามมาตรฐานอเมริกัน ซึ่งเป็นสายชนิดทนแรงดัน 600 V อุณหภูมิใช้งานที่ 75 องศาเซลเซียส แต่ในประเทศไทยนิยม เรียกสายที่ผลิตตาม มอก. 11 -2531 ว่า สาย THW เนื่องจากมีโครงสร้างคล้ายกันและรู้กันทั่วไปในท้องตลาด

การใช้งาน

  • เดินลอย ต้องยึดด้วยวัสดุฉนวน (insulator)
  • เดินในช่องเดินสาย ในสถานที่แห้ง
  • ห้ามเดินฝังดินโดยตรง

สาย VAF

สายไฟตาม มอก.11-2531 ที่ตามท้องตลาดเรียกว่า สายชนิด วีเอเอฟ (VAF) เป็นสายที่นิยมใช้กันมากตามบ้านในประเทศไทย เป็นสายชนิด ทนแรงดัน 300 V มีทั้งชนิดที่เป็นสายเดี่ยว สายคู่ และที่มีสายดินอยู่ด้วย มีชนิด 2 แกน หรือ 3 แกน เป็นสายแบน ตัวนำนอกจากจะมีฉนวนหุ้ม แล้วยังมีเปลือกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง สายคู่จะนิยมรัดด้วยเข็มขัดรัดสาย(Clip) ใช้ในบ้านอยู่อาศัยทั่วไป สายชนิดนี้ห้ามใช้ในวงจร 3 phase ที่มีแรงดัน 380 V (ในระบบ 3 phase แต่แยกไปใช้งานเป็นแบบ 1 phase แรงดัน 220 V. จะใช้ได้)

การใช้งาน

  • เดินเกาะผนัง
  • เดินในช่องเดินสาย ในสถานที่แห้ง
  • ห้ามเดินฝังดินโดยตรง

สาย VCT

เป็น สายชนิดทนแรงดัน 300 โวลต์มีทั้งชนิดเป็นสายเดี่ยวสายคู่และที่มีสายดินอยู่ด้วย ถ้าเป็นสายเดี่ยวจะเป็นสายกลมและถ้าเป็นชนิด 2 แกนหรือ 3 แกนจะเป็นสายแบน ตัวนำนอกจากจะมีฉนวนหุ้มแล้วยังมีเปลือกหุ้มอีกชั้นหนึ่งสายคู่จะนิยมเดิน ตามฝาผนังด้วยเข็มขัดรัดสาย (Clip) หรือเดินในช่องเดินสาย แต่ห้ามเดินฝังดินโดยตรง การจะเดินสายประเภทนี้ใต้ดินจะต้องเดินในท่อฝังดินที่มีการป้องกันน้ำซึม เข้าท่อ ใช้ในบ้านอยู่อาศัยทั่วไปสายชนิดนี้ห้ามใช้ในวงจร 3 เฟสที่มีแรงดัน 380 โวลต์เช่นกัน (ในระบบ3เฟสแต่แยกไปใช้งานเป็นแบบ1 เฟสแรงดัน 220 โวลต์จะใช้ได้)

การใช้งาน

  • ใช้งานทั่วไป ต่อเข้ากับอุปกรณ์ไฟฟ้าเช่นสว่านไฟฟ้า หรือเดินสายเข้าเครื่องจักรขนาดใหญ่ที่เคลื่อนที่ได้

สาย NYY

สายไฟฟ้าตาม มอก.11-2531 ตามท้องตลาดนิยมเรียกว่าสายชนิด เอ็นวายวาย (NYY) มีทั้งชนิดแกนเดียว และหลายแกนสายหลายแกน ก็จะเป็นสายชนิดกลมเช่นกัน สายชนิดนี้ทนแรงดันที่ 750 V. นิยมใช้อย่างกว้างขวางเช่นกัน เนื่องจากว่ามี ความทนต่อสภาพแวดล้อม เพราะมีเปลือกหุ้มอีกชั้นหนึ่ง บางทีเรียกว่าเป็นสายฉนวน 3 ชั้น ความจริงแล้วสายชนิดนี้มีฉนวนชั้นเดียว อีกสองชั้นที่เหลือเป็นเปลือกเปลือกชั้นในทำหน้าที่เป็นแบบ (Form) ให้สายแต่ละแกนที่ตีเกลียวเข้าด้วยกันมีลักษณะกลม แล้วจึงมีเปลือกนอกหุ้ม อีกชั้นหนึ่งทำหน้าที่ป้องกันความเสียหายทางกายภาพ

การใช้งาน

  • ใช้งานทั่วไป เดินสายกับระบบ cable tray
  • เดินสายไฟฟ้าฝังดินได้โดยตรง

สายไฟฟ้าแรงดันสูง (High Voltage Power Cable)

เป็นสายตีเกลียวมีขนาดใหญ่ แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ สายเปลือย และสายหุ้มฉนวน

สายเปลือย

  • สายอะลูมิเนียมตีเกลียวเปลือย (AAC).
  • สายอะลูมิเนียมผสม (AAAC)
  • สายอะลูมิเนียมแกนเหล็ก (ACSR)

สายหุ้มฉนวน

  • สาย Partial Insulated Cable (PIC)
  • สาย Space Aerial Cable (SAC)
  • สาย Preassembly Aerial Cable
  • สาย Cross-linked Polyethylene (XLPE)

สายไฟฟ้าที่ผลิตตามมาตรฐานอื่น

หมายถึง สายไฟฟ้าที่ไม่ได้ผลิตตามมาตรฐาน มอก 11-2531 จึงเป็นสายไฟฟ้าทองแดง ที่หุ้มฉนวนชนิดอื่น ที่นอกเหนือไปจากฉนวนชนิด PVC เช่น

  • ครอสลิงก์โพลีเอททีลีน (Cross-Linked Polyethylene ) นิยมเขียนเป็นอักษรย่อว่า XLPE มีคุณสมบัติพิเศษคือ ทนอุณหภูมิได้สูง และมีความแข็งทนต่อแรงเสียดสีได้ดี
  • สายที่ผลิตตามมาตรฐาน JIS C-3606 เป็นสายชนิดทนแรงดัน 600 V เป็นตัวนำทองแดง อุณหภูมิใช้งานของฉนวน 90 องศาเซลเซียส เรียกว่าสายไฟฟ้าชนิด CV ซึ่งมีขนาดกระแสสูงกว่าสายตาม มอก. 11-2531 ที่ขนาดเดียวกันและวิธีการเดินสายเหมือนกัน เนื่องจากสายมีอุณหภูมิใช้งาน 90 องศาเซลเซียส ขั้วสายและเครื่องอุปกรณ์ที่สายชนิดนี้ต่ออยู่ ก็ต้องเป็นชนิดที่ออกแบบให้ใช้งานได้ 90 องศาเซลเซียส ด้วยเช่นกัน( หรือทำการลดค่าของกระแสของสายไฟฟ้าลงมา ) สายชนิดนี้มีทั้ง แกนเดียวและหลายแกน ( Multi-Core ) มีเปลือกนอก เพื่อป้องกันความเสียหาย ทางกายภาพ จึงใช้งานได้ทั่วไป รวมทั้งใช้เดินฝังดินโดยตรง
Posted on Leave a comment

บ้านของคุณอยู่ในเขตรับผิดชอบของ การไฟฟ้าใด?

บ้านของคุณอยู่ในเขตรับผิดชอบของ การไฟฟ้าใด?
มีใครสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่าบ้านของคุณอยู่ในเขตรับผิดชอบของ การไฟฟ้าใด?
 
มีใครสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่า “การไฟฟ้า” แต่ละหน่วยงานทั้ง MEA PEA และ EGAT มีหน้าที่ต่างกันอย่างไร?
มีใครสงสัยกันบ้างหรือไม่ว่า “การไฟฟ้า” แต่ละหน่วยงานทั้ง MEA PEA และ EGAT มีหน้าที่ต่างกันอย่างไร? วันนี้ เราจะมาหาคำตอบกันครับ ! 
อ่านต่อ...
Posted on Leave a comment

การดูแลอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

การดูแลอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟ
การดูแลอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า

การดูแลอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ควรตรวจสอบอย่างสม่ำเสมอ โดยใช้การสังเกตอย่างต่อเนื่อง เพื่อความปลอดภัยในการใช้กระแสไฟฟ้า

อ่านต่อ...
Posted on Leave a comment

วิธีใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด

หลอดไฟ

วันนี้เราจะมาแนะนำ วิธีการประหยัดพลังงาน โดยเราสามารถเริ่มต้นเองได้ที่บ้าน เพื่อลดค่าใช้จ่ายค่าไฟฟ้าในแต่ละเดือน และเกิดความคุ้มค่าสูงสุด ดังนี้

Continue reading วิธีใช้ไฟฟ้าอย่างประหยัด